วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้กระบวนการทำงาน

 เรื่อง เรียนรู้กระบวนการทำงาน

 1.ทักษะกระะบวนการทำงาน
 2.กระบวนการกลุ่มในการทำงาน
 3. การแก้ปัญหาในการทำงานอย่างมีเหตุผลและการเสริมสร้างลักษณะนิสัยในการ 
     ทำงานด้วยความเสียสละ


1.ทักษะกระบวนการทำงาน
    ทักษะกระบวนการทำงาน หมายถึง เทคนิควิธีการต่างๆ ที่จะต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากการประสบการณ์ทำงานด้วยตนเอง การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ มีขั้นตอนดังนี้
        -การวิเคราะห์งาน จะต้องทำการวิเคราะห์งานทุกครั้งว่า จะปฏิบัติงานอะไร มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์อย่างไร ความยากง่าย เวลาในการทำ วัสดุอุปกรณ์ เป็นข้อมูลในการวางแผนงาน
        -การวางแผนการทำงาน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ การวางแผนที่ดีจะทำให้ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย งานเสร็จทันเวลา จัดลำดับขั้นตอนก่อนหลังที่จะทำ






-การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน การวางแผนงานจัดลำดับขั้นตอนก่อนหลังที่ดี จะทำให้งานถูกต้องไม่เสียเวลาในการแก้ไข


-การประเมินผลการทำงาน เป็นสิ่งที่จะช่วยในการพัฒนาทักษะการทำงาน ทำให้ได้ทราบถึงข้อดีและข้อเสีย เป็นแนวทางที่จะต้องแก้ไขในการทำงานครั้งต่อไป
2.กระบวนการกลุ่มในการทำงาน
    กระบวนการกลุ่ม หมายถึง การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์ในการทำงานเหมือนกัน มารวมตัวกันทำงาน ช่วยกันตัดสินใจและแก้ปัญหาร่วมกัน กระบวนการกลุ่มมีความสำคัญมาก ทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการกลุ่มในการสร้างคนและสร้างงาน มีความสามัคคี ความผูกพัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การระดมสมอง ช่วยกันทำงานให้สำเร็จ ถูกต้องและปลอดภัย




แนวทางในการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม เน้นทักษะการคิด ทักษะการปฏิบัติ แนวทางในการปฏิบัติงานที่สำคัญมี 2 ประการ คือ
        -สัมพันธภาพในกลุ่ม เป็นการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ทุกคนควรยึดหลัก คือ เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี เป็นผู้ประสานงาน เป็นผู้อำนวยความสะดวก เป็นผู้สังเกตการณ์ให้คำติชมและเป็นผู้ผ่อนคลายความเครียด



-ความสมัครใจในการทำงาน สมาชิกควรได้รับมอบหมายงานที่ตรงกับความรู้ ความสามารถของตนเอง ทุกคนควรยึดหลักการ คือ เป็นผู้ริเริ่ม เป็นผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้แสวงหาข้อมูล เป็นผู้ชี้แจง และเป็นผู้ประเมิน




ขั้นตอนการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม การทำงานกลุ่มมีขั้นตอนการทำงาน คือ การเลือกหัวหน้ากลุ่ม การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย วางแผนการทำงาน การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่ การประเมินผลและปรับปรุงการทำงาน

3.การแก้ปัญหาในการทำงานอย่างมีเหตุผล
    การแก้ปัญหาในการทำงานจะต้องเริ่มต้นด้วยการมีสติสัมปชัญญะตามหลักธรรม ใช้เหตุและผลในการตัดสินใจในการแก้ปัญหา รู้จักคิด วิเคราะห์ แยกแยะ
    การตัดสินใจแก้ปัญหา คือ ขบวนการในการเลือก ทางเลือกในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การตัดสินใจภายใต้การวิเคราะห์ พิจารณาทางเลือกต่างๆ
    การแก้ปัญหา คือ กระบวนการหาคำตอบให้คำถามหรือการจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ การประยุกต์ใช้กฎหรือหลักการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความจริง
    ประโยชน์ของการแก้ปัญหาในการทำงาน
        -การตัดสินใจอย่างสมเหตุผล ช่วยลดความเสี่ยง ความผิดพลาด
        -ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองและเพื่อนร่วมงาน
        -พัฒนาระบบการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ
        -ประหยัดเวลาและทรัพยากรในการทำงาน
    ขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหา
        -การสังเกต เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ

 -การวิเคราะห์ เพื่อหาปัญหาที่เกิดขึ้น
        -การสร้างทางเลือก เพื่อหาทางออกของการแก้ปัญหาว่ามีกี่วิธีที่ทำได้
        -การประเมินทางเลือก เพื่อเลือกวิธีที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด
a9


-การวางแผนการทำงาน เพื่อกำหนดกรอบแนวคิด ลำดับ ขั้นตอนในการแก้ปัญหา
        -การลงมือปฏิบัติงาน ดำเนินตามขั้นตอนที่วางแผนไว้อย่างเป็นระบบ
        -การประเมินผลการทำงาน เพื่อให้ทราบถึงข้อดี ข้อเสีย และเป็นแนวทางที่จะต้องแก้ไขในการทำงานครั้งต่อไป
    การสร้างลักษณะนิสัยในการทำงานด้วยความเสียสละ ความเสียสละเป็นคุณธรรมประการแรกของการทำงานเป็นกลุ่ม เพราะกลุ่มประกอบด้วยบุคคลหลายคนมาทำงานร่วมกัน ย่อมมีความคิดเห็นต่างกัน ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มต้องเป็นคนมีเหตุผล มีความเสียสละ มีคุณธรรมจริยธรรม กลุ่มจึงจะทำงานสำเร็จ
    การทำงานกลุ่มด้วยความเสียสละ คือการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นและปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ และไม่คดโกงหรือหลอกลวงผู้อื่น
    ความสำคัญของการทำงานด้วยความเสียสละ คือเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

4 การเสริมสร้างลักษณะนิสัยในการทำงานด้วยความเสียสละ

        การทำงานด้วยความเสียสละเป้นคุณธรรมประการเเรกของการทำานด้วยกระบวนการกลุ่มเพราะว่าการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นทีม ประกอบด้วยบุคคลหลายคนร่วมกันทำงาน ผลิตชิ้นงานย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในทีมงาน ทำให้เกิดปัญหาหรือความขัดเเย้งขึ้นภายในกลุ่มส่งผลต่อประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลของการทำงานหรือชิ้นงาน เพราะฉะนั้นถ้าสมาชิกทุกคนภายในกลุ่มเป้นผู้ที่มีเหตุผล มีความเสียสละ มีคุณธรรม จริยธรรม มีสัมพันธไมตรีภายในกลุ่มก็จะทำให้การทำงานกลุ่มนั้นประสบความสำเร็จ

   ความหมาย  ความสำคัญ
            ลักษณะนิสัยในการทำงานด้วยความเสียสละ หมายถึง การสร้างนิสัยแห่งความเสสียสละให้กับนักเรียนทุกคนได้นำไปปฏิบัติจนเกิดเป็นกิจนิสัย  ทั้งในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวัน ก่อไห้เกิดเจตคติที่ดีต่อการทำงาน สร้างหรือผลิตชิ้นงาน หรือซ่อมเเซมปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานไห้สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี

  หลักการทำงานด้วยความเสสียสละที่ต้องปฏิบัติ มีดังนี้

1 ละหรือเลิกความเห็นแก่ตัว

2 เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

3 เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นที่เเตกต่างกัน ปรับความคิดเห็นที่ต่างกันด้วยสันติวิธีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์

4 รู้จักการไห้ รู้จักการแบ่งปัน สละความสุขความสบายส่วนตัว หรือผลประโยชน์ของตนเอง เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่หวังผลตอบเเทน

5 มีคุณธรรม จริยธรรม เช่น มีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม ประหยัด ขยัน อดทน รับผิดชอบ ตรงต่อเวลา มีความสะอาด มีเหตุผล มีมารยาทที่ดี ช่วยเหลือตนเองได้ เป็นต้น

      จึงกล่าวได้ว่า ความเสียสละเป้นคุณธรรมหลักของการทำงานในกระบวนการกลุ่มได้โดยแท้จริง หากสมาชิกในกลุ่มยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติจะทำให้การทำงานนั้นประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้

   ประโยชน์ของการมีลักษณะนิสัยการทำงานด้วยความเสียสละ 

1 เป็นทักษะพื้นฐานในการทำงานซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำงานต่อไป

2 เป็นการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงานและในการประกอบอาชีพด้วยความซื้อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

3 เป้นการขจัดปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งระดับกลุ่มบุคคลและทีมงานได้เป็นอย่างดี

4 เป้นการเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันในสังคม ทำไห้กลุ่มบุคคลและทีามงานมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเเบบพี่น้อง

5 เป็นพื้นฐานของการพัฒนาคน บุคคลในสังคม ให้มีความเสียสละ ส่งผลต่อการเป้นพลเมืองดีของประเทศชาติสืบต่อไป
    


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น