วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการดูแลรักษาบ้าน

1. บ้านและความเป็นอยู่ในบ้าน/การวางแผนในการดูแลรักษาบ้าน
2. อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานบ้าน/การดูแลรักษาห้องต่างๆ และเครื่องเรือน/ความปลอดภัยในการทำงานบ้าน
3. วิธีการและขั้นตอนในการดูแลรักษาบ้าน
4. การจัดและตกแต่งห้อง
5. การจัดสวนในภาชนะเพื่อตกแต่งห้องต่างๆในบ้าน


1 บ้านและความเป็นอยู่ในบ้าน
ความหมายของบ้าน
               บ้านเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ให้ความรัก ความอบอุ่น ความปลอดภัย เป็นศูนย์รวมของสมาชิกทุกคนในครอบครัวที่จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน




               ครอบครัว หมายถึง หน่วยหนึ่งของสังคม ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดู
ความหมายของคำว่า บ้าน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน บ้าน ความหมาย ที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างสำหรับเป็นที่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อาศัยซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และหมายรวมถึง แพ หรือ เรือ ซึ่งจอดเป็นประจำ
                ความสำคัญของครอบครัว ให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆและสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้กับสมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ตั้งแต่เกิดจนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ให้ความรัก ความเมตตา การเอาใจใส่ ห่วงใย อาทร สร้างความเข้าใจ พยายามเข้าใจ และสร้างสมาชิกในครอบครัวให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สังคมต้องการ
                                                                                         

    

ปัญหาครอบครัว
   ปัญหาครอบครัวหมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว  ได้แก่ปัญหาระหว่างสามีภรรยา ความขัดแย้งระหว่างพ่อกับแม่ พี่กับน้อง  พ่อกับลูกหรือแม่กับลูก  ปัญหาการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว  ปัญหาความสัมพันธ์  ความไม่เข้าใจกัน 
อาการ
   ปัญหาในครอบครัวอาจแสดงอาการออกได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บางคนมีความเครียด ปวดหัว ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ  หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้ชีวิต จนอาจถึงคิดอยากตาย  อาจมีการขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ  ปัญหาอาจลุกลามใหญ่โต หรือเรื้อรัง จนอาจทำให้สมาชิกครอบครัวเกิดอาการทางจิตเวช  หรือป่วยทางจิตเวชกันได้หลายคน เช่น โรคจิต โรคประสาท โรคซึมเศร้า โรคติดสารเสพติด โรคบุคลิกภาพแปรปรวน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาครอบครัวตั้งแต่ต้น จึงช่วยป้องกันปัญหาทางจิตเวช และความเจ็บป่วยทางกายได้


การรักษา
การแก้ไขปัญหาครอบครัว สามารถให้การรักษาได้หลายระดับ  ตั้งแต่การให้คำปรึกษาครอบครัว  ไปจนถึงการรักษาแบบครอบครัวบำบัด  ซึ่งมีหลักการรักษา คือ สมาชิกครอบครัวทุกคนมีส่วนร่วมในการเข้าใจปัญหา  หาทางคลี่คลายหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน ช่วยกันปรับเปลี่ยนตนเอง โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ไขก่อน
  การรักษาวิธีนี้ แพทย์จะไม่ค้นหาตัวปัญหา หรือ คนผิด ไม่ตัดสินว่าใครผิดถูก  การช่วยกันปรับความสัมพันธ์ระหว่างกัน การวางตัวต่อกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน บนพื้นฐานของความรัก ความอบอุ่นความห่วงใย ความปรารถนาดีต่อกัน
   ในกรณีที่ความขัดแย้งมีสะสมมานาน  การรักษาจะไม่ขุดคุ้ยความขัดแย้งเก่าๆขึ้นมาอีก  แต่จะวิเคราะห์เฉพาะปัญหาในปัจจุบัน หากลยุทธ หรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาหรือความขัดแย้ง สร้างคุณภาพชีวิตครอบครัวเพื่อให้ทุกคนมีความสุข

การป้องกัน
   ครอบครัวที่อบอุ่น เป็นภูมิต้านทานต่อความเจ็บป่วยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคทางกาย โรคทางจิต และ โรคติดสารเสพติด  การสร้างครอบครัวที่อบอุ่น ทำได้ดังนี้
1.มีการติดต่อสื่อสารที่ดี เมื่อมีคนพูด ควรมีคนรับฟัง พยายามทำความเข้าใจกัน บอกความต้องการด้วยความสงบ ไม่ต่อว่า ส่อเสียดคุกคามกัน ไม่ควรเริ่มต้นด้วยการตำหนิ ว่ากล่าว หรือจี้จุดอ่อนของอีกฝ่ายหนึ่ง
2. มีการเคารพสิทธิส่วนตัวของกันและกัน ในพื้นฐานของกติกาที่ดี ไม่มีการละเมิดสิทธิส่วนตัวซึ่งกันและกัน แต่ละคนอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกันได้
3. พ่อแม่ควรมีความร่วมมือกันในการดูแลครอบครัว   การแก้ไขปัญหาต่างๆ และปัญหาพฤติกรรมเด็ก
4. การมีเวลาที่มีคุณภาพร่วมกัน แม้เวลาเพียงเล็กน้อย แต่คุณภาพที่ดีจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี  เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาครอบครัวที่มีคุณภาพ
บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว
เมื่อเราอยู่ร่วมกันในครอบครัวทุกคนต่างก็มีบทบาทหน้าที่ที่ต้องทำในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว เช่น หน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูก หน้าที่ของลูกที่มีต่อพ่อแม่ หน้าที่ของพี่ที่มีต่อน้อง เป็นต้น


หน้าที่ของพ่อ
ในฐานะที่พ่อเป็นหัวหน้าครอบครัว พ่อมีหน้าที่สำคัญดังนี้
๑. ทำงานหาเงินมาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัว
๒. อบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี
๓. ดูแลคุ้มครองลูก
๔. ให้การศึกษาเล่าเรียนแก่ลูก

หน้าที่ของแม่
ในฐานะที่แม่เป็นแม่บ้านแม่มีหน้าที่สำคัญดังนี้
ดูแลความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว ในเรื่องอาหารการกิน ความสะอาดของบ้าน
อบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี
ดูแลทุกข์สุขของลูก
ให้ความรัก ความเมตตา และความอบอุ่นแก่ลูก


หน้าที่ของลูก
๑. เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่
๒. ช่วยเหลือรับผิดชอบตนเอง
๓. ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
๔. ตั้งใจเรียนหนังสือ
๕. ประพฤติตนเป็นเด็กดี

หน้าที่ของพี่/น้อง
พี่หรือน้องมีหน้าที่ที่ปฏิบัติต่อกัน ดังนี้
รักใคร่ ห่วงใยซึ่งกันและกัน
มีความสามัคคีกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
คอยตักเตือนกัน ไม่ให้อีกฝ่ายประพฤติตนไม่ดี


สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกในครอบครัว
การอยู่ร่วมกันในครอบครัวนอกจากสมาชิกทุกคนจะมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในฐานะสมาชิกของครอบครัวแล้ว สมาชิกแต่ละคนยังมีกิจกรรมส่วนตัวที่แตกต่างกัน เช่น กิจกรรมส่วนตัวของแต่ละคนนี้ เป็นกิจกรรมที่สมาชิกมีเสรีภาพในการเลือกกระทำได้ตามความสนใจของตนเอง แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่า กิจกรรมส่วนตัวของเรา ต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น
บางเวลาเมื่อสมาชิกทุกคนในครอบครัวได้มาพบปะกันพร้อมหน้าในโอกาสต่างๆ เช่น ในเทศกาลปีใหม่ ก็จะมีการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กินข้าวด้วยกัน ไปทำบุญด้วยกัน เป็นต้น ทำให้สมาชิกพูดคุยกัน ซึ่งสมาชิกทุกคนในครอบครัวมีสิทธิเสรีภาพในการพูด ซักถาม หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆได้ และเมื่อมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันเกิดขึ้น ก็ต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และแก้ไขข้อขัดแย้งด้วยเหตุผล

สิทธิเด็ก
นักเรียนจำได้หรือไม่ว่า เมื่อตอนที่เรายังเป็นเด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ใครเป็นผู้ดูแลเรา คอยป้อนข้าว ป้อนนม อาบน้ำให้
เมื่อเราเติบโตขึ้ึนมา สามารถช่วยเหลือตนเองได้บางเรื่อง แต่พ่อแม่ก็ยังต้องคอยดูแลเรา และคุ้มครองป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาทำร้ายร่างกายเรา
การที่พ่อแม่คอยดูแลเรา ให้ความรัก และให้ความอบอุ่นแก่เรานั้นเป็นไปตามธรรมชาติิ เพราะพ่อแม่ย่อมต้องรักลูกของตนเองแต่บางครั้งก็มีเด็กบางคนที่โชคร้้ายไม่ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่จากพ่อแม่ทำให้เด็กขาดที่พึ่ง และอาจได้รับอันตรายได้
ดังนั้น รัฐจึงมีการรับรองและคุ้มครองสิทธิของเด็ก เพราะเด็กยังอ่อนเยาว์อ่อนแอ ไร้เดียงสา และขาดประสบการณ์ ยังไม่สามารถคุ้มครองตนเองได้เต็มที่จึงอาจถูกทำร้ายหรือถูกทำทารุณได้ง่าย
            กฏหมายเกี่ยวกับ การเกิด การตาย

การสร้างสัมพันธภาพและบรรยากาศที่อบอุ่นในครอบครัว  เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบันทั้งสังคมชนบทและสังคมเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลง  จากสังคมเกษตรมาเป็น สังคมอุตสาหกรรมที่มีผลทำให้สมาชิกแต่ละคนของครอบครัวมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ มากขึ้นและแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล  ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวก็มีการเปลี่ยนแปลง ตามไปด้วย  ดังนั้นเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน  สมาชิกในครอบครัวควรรู้ บทบาทหน้าที่การงานและร่วมกันสร้างสัมพันธ์ในครอบครัว โดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.    เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น  และร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหา ต่างๆ ในครอบครัว
2.    สร้างกิจกรรมฝึกสมาชิกให้เป็นผู้นำ  และผู้ตามที่ดี  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3.    ให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวได้รับผิดชอบงานในครอบครัวตามความเหมาะสม  และหากิจกรรมทำร่วมกัน  เป็นการฝึกการช่วยเหลือเอื้ออาทร  และมีน้ำใจอันดีต่อกัน  ไม่นิ่งดูดาย  และเพื่อเรียนรู้อุปนิสัยซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่ดี
4.    ฝึกให้สมาชิกในครอบครัวรู้จักลดและหลีกเลี่ยงการขัดแย้งระหว่างสมาชิก  โดยให้ พยายามทำความเข้าใจ  และรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน
5.    ฝึกให้สมาชิกมีสัมมาคารวะ  เคารพนับถือผู้อาวุโส  ประพฤติตนให้เหมาะสมกับวัย  และกาละเทศะ  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  และรู้จักเสียสละตามควรแก่โอกาส
การจัดและดูแลรักษาบ้าน
บ้านเป็นสถานที่ให้สมาชิกได้อยู่อาศัย  พักผ่อนนอนหลับให้ปลอดภัย  ดังนั้นควรจัดและ ดูแลรักษาบ้านให้น่าอยู่

การวางแผนในการดูแลรักษาบ้าน

        บ้านเป็นหนีี่งในปัจจัยสี่ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ บ้านเป็นสถานที่อาศัยพักผ่อนหลับนอนให้ความปลอดภัย และเป็นศูนย์รวมของสมาชิกทุกคนในครอบครัว ดังนั้นเมื่อเรามีบ้านแล้วสิ่งสำคัญตามมาก็คือกการดูแลรักษาบ้านให้น่าอยู่เสมอ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนที่จะต้องรู้จักดูแลรักษาบ้านให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย
        การดูแลรักษาบ้านอย่างสม่ำเสมอจะทำให้บ้านถูกสุขลักษณะ สะอาด น่าอยู่ และไม่ชำรุด เสื่อมโทรม หรือเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย ป้องกันไม่ให้เป็นที่อาศัยของแมลงสาบ หนู นก งู หรือสัตว์อื่นๆ ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อต่างๆ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวเกิดความสะดวกในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ และมีความสุขสบายในการพักผ่อนหลับนอน นอกจากนี้บ้านที่สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยน่าอยู่ ยังจะช่วยทำให้เป็นที่ประทับใจของผู้ที่มาเยี่ยมเยียนอีกด้วย
        ในการทำงานบ้าน ควรมีการวิเคราะห์งานที่มีอยู่ในบ้าน และวางแผนการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมงานที่มีในบ้าน แล้วปฏิบััติงานตามแผนที่ได้วางไว้ จะทำให้ทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นงานที่ต้องช่วยกันทำหลายคน และมีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน ยิ่งจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนการทำงานที่ดี
        ในการวางแผนการทำงานบ้านจะต้องเริ่มต้นจากการสำรวจงานที่มีอยู่ในบ้าน วิเคราะห์ชนิดของงาน พิจารณาว่างานใดควรทำก่อนหรือหลัง จัดลำดับขั้นตอนของงาน รวมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้สมาชิกในบ้านได้ช่วยกันทำ

       ๑. ความสำคัญของการวางแผนการทำงานบ้าน
            การวางแผนการทำงาน เป็นการกำหนดล่วงหน้าในงานที่จะทำ โดยมีจุดหมายในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อนำทางให้ทำงานได้สำเร็จตามที่คาดหวัง
            ประโยชน์ของการวางแผนก่อนทำงาน มีดังนี้
            ๑. ช่วยให้ผู้ที่รับผิดชอบในงานทราบล่วงหน้าว่าจะต้องทำงานใด เมื่อใด ทำให้สามารถทำงานที่รับผิดชอบได้ครบทุกรายการ รวมทั้งช่วยให้งานสำเร็จตามเป้าหมายได้เร็วขึ้น
            ๒. ฝึกนิสัยในการคิดล่วงหน้า มีเหตุผลและรอบคอบ
            ๓. เป็นวิธีการปลูกฝังความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นกับสมาชิกในบ้าน
            ๔. ทำให้ประหยัด เวลา แรงงาน และวัสดุอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน
            ๕. ทำให้มองเห็นปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถกำหนดแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้าก่อนลงมือทำงานได้

        ๒. ลักษณะของแผนการทำงานที่ดี
            แผนการทำงานที่ดีมีลักษณะ ดังนี้
            ๑.) มีความชัดเจนในงานที่จะทำ โดยจะต้องมีการกำหนดงานอย่างชัดเจน บอกวิธีการทำ ระบุเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และระบุผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
            ๒.) จัดลำดับขั้นในการทำงานอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง แผนงานที่ดีจะต้องมีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานไว้อย่างต่อเนื่องว่าควรทำอะไรก่อนและหลังและเมื่อปฏิบัติงานส่วนนี้เสร็จแล้วควรจะทำอะไรต่อไป และทำอย่างไรด
            ๓.) กำหนดระยะเวลาที่จะทำงานตามความเป็นจริง โดยการกำหนดวันที่เริ่มงาน ระยะเวลาในการทำงาน และกำหนดเสร็จงาน ตามระยะเวลาที่เป็นไปได้ จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถทำงานอย่างอื่นต่อไปได้
            ๔.) กำหนดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นการเตรียมความพร้อมในการทำงาน การวางแผนทำงานบ้านในแต่ละครั้งจะต้องมีการกำหนดว่าจะใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้อะไรบ้างและมีวิธีการใช้อย่างไร ศึกษาวิธีการใช้ให้เข้าใจ จะช่วยให้งานที่รับผิดชอบเสร็จเร็วขึ้นและทำให้เราสามารถประหยัดการใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และมีความปลอดภัยในการใช้อีกด้วย
            ๕.) กำหนดผู้รับผิดชอบ เป็นการกำหนดว่าแต่ละงานใครเป็นผู้รับผิดชอบ ถ้าเป็นงานใหญ่ที่ต้องทำกันหลายคน ก็จะต้องมีการแบ่งงานให้เหมาะสมกับวัย เพศ และตามความถนัดของแต่ละคน
            ๖.) มีการติดตามและประเมินการปฏิบัติงานเป็นระยะ การวางแผนการทำงานที่ดีจะต้องมีการประเมินการทำงานตลอดเวลาว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ เพราะหากในระหว่างการปฏิบัติงานมีปัญหาหรืออุปสรรคเกิดขึ้นจะได้แก้ไขทันที และเป็นการประเมินว่าแผนการทำงานที่วางไว้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง

        ๓. ขั้นตอนการวางแผนการทำงานบ้าน
            ในการวางแผนการทำงานบ้าน ควรปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
            ๑.) วิเคราะห์งานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในบ้านทั้งหมด ก่อนที่จะลงมือทำงานบ้านจะต้องมีการวิเคราะห์งานตามขั้นตอน ดังนี้

                ขั้นที่ ๑ วิเคราะห์งานที่ทำทุกวันและงานที่ทำในวันหยุด และวิเคราะห์ วัน เวลา ในการทำงาน ว่างานใดต้องทำทุกวัน หรืองานใดที่ทำเฉพาะในวันหยุด ดังตัวอย่างต่อไปนี้


 ขั้นที่ ๒ วิเคราะห์กิจวัตรประจำวันของตนเองที่ต้องทำเป็นประจำวัน และเวลาในการดำเนินการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
            ตารางที่ ๒ วิเคราะห์กิจวัตรประจำวัน

 ๒.) จัดทำแผนการทำงานประจำวัน ในการจัดทำแผนการทำงานประจำวันให้นำรายการจาก ตารางที่ ๑ วิเคราะห์งานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในบ้าน และตารางที่ ๒ วิเคราะห์กิจวัตรประจำวัน มาจัดทำเป็นแผนการทำงานประจำวันจันทร์ - ศุกร์และวันหยุดประจำสัปดาห์ โดยแยกเป็นตารางวันธรรมดา ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตารางที่ ๓ แผนการทำงานประจำวันจันทร์ - ศุกร์
ตารางที่ ๔ แผนการทำงานประจำวันหยุดประจำสัปดาห์
 ๓.) การปฏิบัติงาน ติดตามงานและปรับปรุงแก้ไข เมื่อเรากำหนดแผนการทำงานดังตารางข้างต้นแล้วจะต้องลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ งานใดที่ไม่สามารถปฏิบัติได้หรือทำงานนั้นไม่เสร็จตามเวลาที่วางแผนไว้ให้จดบันทึกในแผนการทำงานประจำวันช่องหมายเหตุให้ตรงกับงานนั้นๆ แล้วหาวิธีการดำเนินการแก้ไข เช่น ขอความช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัว พี่ น้อง หรือผู้อื่น มาช่วยทำงาน รายงานพ่อแม่ หรือผู้มอบหมายงานให้รับทราบ

2.อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานบ้าน
        อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงาน ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานและดูแลรักษาให้ถูกวิธี จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้ยาวนาน อุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกที่อยู่ในสภาพดีจะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ทำงานได้สะดวกสบาย ประหยัดเวลา แรงงานและประหยัดรายจ่ายในบ้าน ช่วยให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
        ในการเลือกและใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงาน มีข้อควรคำนึงถึง คือ จะต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน และเงินของครอบครัว ช่วยให้ทำงานได้สะดวกสบายขึ้นและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

        เครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานบ้าน มีทั้งที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าและไม่ใช้ไฟฟ้า ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ทำและศึกษาวิธีการและขั้นตอนการใช้ให้ดีเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานรวมทั้งรู้จักวิธีบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านั้นด้วย อุปกรณ์เครื่องอำนวยความสะดวกในการทำงานบ้านที่สำคัญ มีดังนี้
อุปกรณ์ในการทำความสะอาดบ้าน

ไม้กวาดดอกหญ้า
             ไม้กวาดดอกหญ้าหรือไม่กวาดอ่อน ที่ดีตัวไม้กวาดควรทำจากดอกหญ้าที่อ่อนนุ่ม ผูกติดกันแน่น ด้ามเรียบไม่ขรุขระ จับถนัดมือ น้ำหนักเบา และมีความยาวพอเหมาะกับผู้ใช้ สามารถยืนกวาดได้สบาย ไม่ต้องก้มหลัง ไม้กวาดดอกหญ้าเหมาะสำหรับกวาดฝุ่นละอองหรือเศษขยะชื้นเล็กๆบนพื้นที่แห้ง เช่น พื้นไม้ธรรมดา พื้นปาร์เก็ต พื้นซีเมนต์เรียบๆ พื้นหินอ่อน หินขัด กระเบื้อง หรือฝาผนังเรียบๆ เป็นต้น
เมื่อใช้เสร็จแล้วควรเก็บโดยเจาะ รูที่ปลายด้ามแล้วแขวนไว้ ซึ่งไม้กวาดดอกหญ้าที่ขายในปัจจุบันมักทำที่แขวนสำเร็จไว้แล้วหรืออาจเก็บ โดยพิงฝาผนังเอาด้ามลงก็ได้ ถ้าตัวไม้กวาดเปียกชื้นควรนำไปตากแดดให้แห้ง

ไม้กวาดก้านมะพร้าว


ไม้กวาดก้านมะพร้าว ที่ดีจะต้องมัดแน่นและใช้ก้านมะพร้าวยาวพอสมควร เหมาะสำหรับกวาดขยะชิ้นใหญ่ๆ กวาดน้ำบนพื้นซีเมนต์ หรืกวาดทางระบายน้ำ เมื่อใช้เสร็จแล้วควรวางให้สะอาดตากแดดให้แห้งแล้วนำไปเก็บโดยแขวนให้ปลายห้อยลงหรือผิงฝาผนังโดยใช้โคนตั้งกับพื้น


ไม้กวาดหยักไย่

ไม้กวาดหยากไย่หรื้อไม้กวาดเสี้ยนตาล เหมาะสำหรับกวาดหยากไย่บนเพดาน เมื่อใช้เสร็จแล้วควรกำจัดหยากไย่ออกจากไม้กวาดให้หมด แล้วนำไปเก็บโดยวางด้ามลงตั้งพิงกับฝาผนัง หรืวางราบกับพื้นให้ชิดฝาผนัง

ไม้กวาดไม้ไผ่


ไม้กวาดไม้ไผ่ ควรมีด้ามยาวพอเหมาะ สามารถยืนกวาดได้อย่าสะดวก มีด้ามและตัวไม้กวาดแข็งแรง เหมาะสำหรับกวาดเศษกระดาษ ใบไม้ต้นไม้ที่ตัดแล้ว หรือสิ่งอื่นๆในสนามที่เป็นพื้นดิน หรือพื้นซีเมนต์ที่แห้ง ไม่ควรให้เปียกน้ำ เนื่องจากจะทำให้ผุง่าย ดังนั้น จึงควรเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่เปียกชื้น โดยอาจวางตั้งเอาด้ามลงหรือวางราบกับพื้นให้ชิดผนังห้องก็ได้

ไม้กวาดขนไก่

ไม้กวาดขนไก่ ที่ดีขนหนาและผูกติดกันแน่น ขนไม่หลุดร่วงง่าย แต่เดิมทำจากขนไก่ ปัจจุบันมักทำจากขนไก่ที่สังเคราะห์ขึ้น เนื่องจากความต้องการไม้กวาดขนไก่มีมากขึ้นและใช้งานได้คงทนกว่า ไม้กวาดขนไก่ใช้สำหรับปัดฝุ่นตามชั้นวางของ หลังตู้ หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ หลังจากใช้เสร็จแล้ว ควรแขวนไว้ที่ผนังห้องและไม่ควรให้เปียกน้ำ

ที่โกยขยะ




ที่โกยผง มีทั้งแบบที่ทำด้วนพลาสติก และแบบที่มำจากสังกะสีต่อด้วยด้ามไม้ยาว ที่โกยผงที่ดี ส่วนปลายของตัวที่โกยผงควรวางทาบกับพื้นได้สนิท เพื่อให้สามารถกวาดเศษผงเข้าได้ง่าย ถ้าเป็นที่โกยพลาสติกเมื่อใช้เสร็จแล้ว ล้างน้ำให้สะอาดแล้วคว่ำในที่ร่มให้แห้งจึงเก็บเข้าที่ ส่วนที่โกยผงที่เป็นสังกะสี เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ทำความสะอาดด้วยการเช็ด ไม่ควรนำไปล้างน้ำเพราะจะทำให้เป็นสนิมได้ง่าย

เครื่องดูดฝุ่น

เครื่องดูดฝุ่น เป็นเทคโนโลยีที่ใช้แทนไม้กวาด ช่วยให้การทำความสะอาดบ้านสะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพยิ่งขึ้น เครื่องดูดฝุ่นมีทั้งแบบตั้ง และแบบทรงกลม ซึ่งสามารภทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆได้ ทั้งพื้นห้อง ฝาผนัง เพดาน ชั้นวางของ เบาะรถหรือโซฟา โดยเลือกใช้หัวดูดหรือหัวแปรงให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นผิวที่จะทำความสะอาด นอกจากนี้เครื่องดูดฝุ่นบางชนิดยังสามารถดูดน้ำและสิ่งสกปรกที่เปียกแฉะได้

ผ้าขี้ริ้ว



ผ้าขี้ริ้ว ควรเป็นผ้าที่มีเนื้อนุ่มสามรถซับน้ำได้ดี เช่น ผ้าขนหนูหรือผ้ายืด ซึ่งเราสามารถนำผ้าเช็ดตัวผืนเก่าหรือเสื้อยืดตัวเก่ามาตัดให้มีขนาดพอเหมาะสำหรับทำเป็นผ้าขี้ริ้วได้ เหมาะสำหรับการถูพื้นที่แคบ ชั้นวางของ ขอบหน้าต่าง หรือบนโต๊ะ เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องซักให้สะอาด ตากแดดให้แห้งแล้วพับเก็บให้เรียบร้อย

ไม้ถูกพื้น
ไม้ถูพื้น ช่วยให้การถูพื้นสะดวกรวดเร็วกว่าการถูด้วยผ้าขี้ริ้วแต่เหมาะสำหรับการถูพื้นที่กว้างๆไม่มีซอกมุม ไม้ถูพื้นมีทั้งชนิดที่ใช้ไม้ถูเปียกและชนิดที่ใช้ถูแห้ง ชนิดถูเปียกมักทำด้วยฟองน้ำ ผ้ากระสอบหรือผ้าหนาๆ เมื่อใช้เสร็จแล้วควรซักหรือล้างให้สะอาดแล้วนำไปตากแห้ง ส่วนชนิดถูแห้งมักทำด้วยเส้นด้าย เหมาะสำหรับถูพื้นไม้ขัดมัน หรือพื้นปาร์เกต์ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้สะบัดฝุ่นละอองออก หากเปียกชื้นควรผึ่งให้แห้งก่อนนำไปเก้ฐ การเก็บให้วางด้ามลงพิงกับฝาผนัง

แปรง
แปรง ที่ใช้ทำความสะอาดบ้านมีรูปแบบแตกต่างกัน และทำจากวัสดุหลายชนิดให้เหมาะแก่การใช้งาน เช่น แปรงลวด แปรงพลาสติก แปรงเสี้ยนตาล แปรงเหล่านี้ใช้สำหรับขัดพื้น และสิ่งของต่างๆ แปรงลวดและแปรงพลาสติกเหมาะสำหรับขัดพื้นไม้และพื้นซีเมนต์ ส่วนแปรงเสี้ยนตาลนอกจากจะใช้ขัดพื้นได้แล้ว ยังใช้ขัดโถส้วม โอ่งน้ำ หรือสิ่งขิงอื่นๆ ได้ด้วย แปรงที่มีด้ามจะช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากขัดได้ในระยะที่กว้างกว่าแปรงที่ไม่มีด้าม เมื่อใช้เสร็จแล้วควรล้างให้สะอาดตากให้แห้ง แล้วนำไปเก็บเข้าที่


การดูแลรักษาห้องต่างๆภายในบ้าน

บ้านเป็นศูนย์รวมของสมาชิกทุกคน ไม่ใช่เพียงแค่เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่บ้านยังมีอิทธิพล ส่งผลไปถึงจิตใจ รวมทั้งในเรื่องของสุขภาพร่างกายด้วย
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่สมาชิกทุกคน จะต้องช่วยกันดูแลรักษาให้สะอาด สวยงาม และน่าอยู่อยู่เสมอ

การดูแลรักษาห้องต่างๆภายในบ้าน มีความแตกต่างกันไป ตามลักษณะ และจุดประสง์ของการใช้งาน การดูแลทำความสะอาด จึงมีความแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน 
ห้องนอน
การดูแลทำความสะอาดห้องนอน สามารถใช้น้ำยาทำความสะอาดพื้นทั่วๆ ไป แต่หากเกิดรอยคราบที่เช็ดด้วยวิธีธรรมดาไม่หาย ก็ลองใช้น้ำมันสนมาขัดถูบริเวณรอยที่เกิดขึ้น ส่วนที่นอน หมอน หมอนข้าง ก็ควรนำมาผึ่งแดดจัด ทุกๆ สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค ส่วนผ้าปูที่นอนและปลอกหมอน ก็ให้เปลี่ยนทุกๆ 2-3 วัน
ห้องรับแขก หรือห้องนั่งเล่น
จำเป็นต้องทำความสะอาดทุกวัน เพราะเป็นหน้าตาของบ้าน โดยให้ปัดฝุ่นที่เกาะอยู่ตามโต๊ะรับแขก โซฟา รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ หากมีโทรทัศน์ ก็ต้องปัดฝุ่นบ่อยๆ ด้วย ส่วนบริเวณเพดาน ฝาผนัง ใช้ไม้กวาดหยากไย่ จัดการปัดเอาใยแมงมุม ตามมุม หรือเพดานห้อง สัปดาห์ละครั้ง
ห้องครัว
ปัญหาที่พบเจอที่เหมือนกันทุกๆ บ้านก็คือ คราบน้ำมันจากการประกอบอาหาร ทำให้ผนังดูสกปรก ควรใช้ฟองน้ำ หรือผ้าสะอาด ชุบน้ำยาทำความสะอาดผนัง หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคบ่อยๆ หรือหากว่าจะทาสีบริเวณผนังใหม่ ก็ควรเลือกสีทาผนังแบบเช็ดล้างได้ง่าย ซึ่งมีขายอยู่ทั่วไป มากกว่าการใช้สีแบบธรรมดา เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด และไม่มีรอยคราบบนผนังด้วย ส่วนบริเวณพื้นห้องครัว ก็มักจะมีสิ่งสกปรกต่างๆ ตกค้างหมักหมมอยู่ ก็ให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดพื้น หรือผสมน้ำสะอาดกับน้ำยาฆ่าเชื้อโรค มาถูให้ทั่วห้องครัวเป็นประจำ รวมทั้งอย่าลืมทำความสะอาดถังขยะบ่อยๆ ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
ห้องน้ำ
เป็นอีกห้องหนึ่ง ที่จำเป็นต้องรักษาความสะอาดมากเป็นพิเศษ เพราะจะเป็นแหล่งสำหรับแพร่เชื้อโรคได้ง่าย สำหรับพื้นห้องน้ำ ให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำทั่วๆ ไป เพื่อขจัดคราบดำๆ สกปรก ที่อยู่ตามร่องกระเบื้องพื้น หากมีราวสำหรับแขวนผ้าเช็ดตัว ก็ใช้ผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ขัดทำความสะอาด ในส่วนของสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ อาจจะใช้คลอรีนผสมน้ำในอัตราส่วนเท่าๆ กัน เทลงในอ่างล้างหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาที สำหรับบริเวณโถส้วม ให้ใช้แปรงขนอ่อนชุบคลอรีน หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ขัดจนคราบสกปรกออกจนหมด แล้วราดน้ำล้างออกจนทั่ว
การดูแลรักษาห้องต่างๆภายในบ้าน สมาชิกทุกคน ควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ยกให้ผู้ที่เป็นแม่บ้าน ต้องรับผิดชอบอยู่คนเดียว เพราะหากได้รับความร่วมมือจากทุกคนแล้ว บ้านก็จะสะอาด น่าอยู่อาศัย และเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนอย่างแท้จริง

ความปลอดภัยในการทำงานบ้าน
การทำความสะอาดบ้านและบริเวณบ้านนั้นควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยระมัดระวังในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้

  1. 1. ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน ศึกษาวิธีใช้จากคู่มือให้ถูกต้อง ใช้ด้วยความระมัดระวัง จัดเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยหลังการใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีคม ต้องเก็บให้พ้นมือเด็ก
    1. 2. อุปกรณ์เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าต้องตรวจสายไฟ ปลั๊กไฟ ห้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะที่มือเปียกน้ำ
    2. 3. อุปกรณ์เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับแก๊ส เช่น เตาแก๊ส ต้องตรวจความเรียบร้อยก่อนใช้งาน ได้แก่ วาล์วปิดสนิท หัวเตาปิดเรียบร้อย สายแก๊สไม่ฉีกขาด เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกขณะจุดไฟ หลังจากใช้งานเสร็จแล้วต้องปิดวาล์วที่ถังแก๊สและปุ่มปิดที่เตาแก๊สทุกครั้ง ควรมีถังดับเพลิงไว้ใกล้บริเวณที่ปฏิบัติงานและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีใช้ถังดับเพลิงแก่สมาชิกในครอบครัวด้วย
    3. 4. สารเคมีต่างๆที่ใช้ในบ้าน เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ ยากำจัดแมลง ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะขณะที่ใช้น้ำยาล้างห้องน้ำหรือยากำจัดแมลงต้องสวมถุงมือยาง ใช้ผ้าปิดปากและจมูกทุกครั้ง หลังปฏิบัติงานให้ล้างมือให้สะอาด เก็บน้ำยาหรือผงขัดต่างๆไว้ในตู้เก็บของที่อยู่สูงพ้นมือเด็ก
    4. 5. ควรมีสมาธิในขณะทำงานบ้าน ไม่ควรทำงานในขณะที่ร่างกายอ่อนเพลีย เช่น ไม่สบายหรืออดนอน
    5. 6. ควรสวมเสื้อผ้าที่รัดกุม เพราะถ้าสวมใส่เสื้อผ้าที่มีปลายแขนเสื้อ ชายกระโปรง ชายเสื้อหรือชายกางเกงยาวบานพลิ้ว รุ่มร่าม อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานได้ เช่น สะดุดชายกระโปรง ปลายแขนเสื้อปัดเครื่องตกแต่งบ้านแตก ชายแขนเสื้อหย่อนลงไปในอาหารชายเสื้อพันกับใบพัดลม

        ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า

        ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้า      1. อย่าใช้สวิทช์ปิด-เปิดไฟฟ้าบนเตียงนอน เพราะอาจพลิกตัวนอนทับแตก จะถูกไฟฟ้าดูดได้
              2. อย่าเปิดวิทยุหรือใช้ไฟฟ้าในห้องน้ำที่ชื้นแฉะ ถ้ากระแสไฟฟ้ารั่วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
              3. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่แตกชำรุด ควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนให้เรียบร้อย
              4. อย่าใช้ข้อต่อแยก เสียบปลั๊กหลายทาง เป็นการใช้กระแสไฟเกินกำลัง อาจทำให้สายร้อนและเกิดไฟไหม้ได้
              5. อย่าใช้วัสดุอื่นแทนฟิวส์ หรือใช้ฟิวส์เกินขนาด
              6. อย่าปล่อยให้สายเครื่องไฟฟ้า เช่น พัดลม ลอดใต้เสื่อหรือพรม เปลือกหุ้มหรือฉนวนอาจแตกเกิดไฟช๊อตได้ง่าย
              7. อย่าเดินสายไฟชั่วคราวอย่างลวก ๆ อาจเกิดอันตรายได้
              8. อย่าแก้ไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้
              9. อย่าเดินสายไฟติดรั้วสังกะสีหรือเหล็กโดยไม่ใช้วิธีร้อยในท่อ ไฟฟ้าอาจรั่วเป็นอันตรายได้
            10. อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ เพราะน้ำจะเป็นสะพานให้ไฟฟ้ารั่วไหลออกมาได้
            11. อย่าใช้เครื่องมือไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้มเป็นที่จับ เช่น ไขควง หัวแร้ง เครื่องวัดไฟฟ้า ฯลฯ
            12. อย่านำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กระแสตรงไปใช้กับไฟกระแสสลับ ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน
            13. สวิทช์และสะพานไฟ (Cut Out) ทุกแห่งต้องปิด-เปิดได้สะดวก
            14. อย่ายืนบนพื้นคอนกรีตด้วยเท้าเปล่าขณะปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ควรใช้ผ้ายางหรือสวมใส่รองเท้า

        ความปลอดภัยในปฏิบัติงานไฟฟ้า


              1. ก่อนปฏิบัติงานต้องตรวจดูเสียก่อนว่า เครื่องมือ และอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานไฟฟ้า ชำรุด  แตก หัก หรือเปล่า
              2. ก่อนปฏิบัติงาน เช่น การต่อสายไฟ ควรยกสะพานไฟ (Cut Out) ออกเสียก่อน
              3. ขณะทำงานไม่ควรหยอกล้อกันเป็นอันขาด
              4. ไม่ควรเสี่ยงอันตรายเมื่อไม่มีความแน่ใจ
              5. ขณะทำงานมือ เท้า ต้องแห้ง หรือสวมรองเท้า
              6. ก่อนปฏิบัติงาน ควรจะเขียนวงจรดูเสียก่อนเพื่อความไม่ประมาท
              7. เมื่อเสร็จงาน ก่อนจ่ายกระแสไฟฟ้า ควรตรวจสอบวงจรไฟฟ้าให้ละเอียดและถูกต้องเสียก่อน
              8. เมื่อจะจ่ายกระแสไฟฟ้าต้องดูให้แน่ใจ ว่าไม่มีใครปฏิบัติงานไฟฟ้าอยู่
              9. ไม่ควรนำฟิวส์ที่โตกว่าขนาดที่ใช้ หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ลวดทองแดงแทนฟิวส์
            10. รอยต่อสายไฟฟ้า ต้องใช้ผ้าเทปพันสายให้เรียบร้อยเสียก่อน
            11. ต่อวงจรให้เสร็จเสียก่อน จึงนำปลายสายทั้งคู่เข้าแผงสวิทช์

        ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ


                                                    ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ
        ในโรงงานอุตสาหกรรมมีเครื่องมืออยู่หลายชนิดที่ต้องใช้ให้ถูกวิธี และให้เหมาะสมกับงานเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เครื่องมือต่างๆเหล่านั้นได้แก่ ค้อน ไขควง คีม ตะใบ เลื่อย อุปกรณ์ร่างแบบ ต่างๆ เช่นเหล็กขีด วงเวียน เป็นต้น 
                    
        1.การใช้เครื่องมือให้ปลอดภัย ควรปฏิบัติตามข้อบังคับที่จะกล่าวต่อไปนี้
        1.1 ให้สวมแว่นนิรภัย เมื่อต้องใช้เครื่องมือ เช่น สกัด การเจียระไนด้วยมือ  ต้องสวมแว่นตาเสมอ เพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา
        1.2 ฝึกอบรมวิธีการใช้อย่างปลอดภัยก่อนให้ทำงาน
                    1.3 ใช้เครื่องมือคุณภาพดี ไม่ชำรุด
                    1.4 เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือให้ถูกกับชนิดของงาน
             1.5 หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือที่ต้อง งอ ข้อมือทำงาน
                1.6  บำรุงรักษาเครื่องมืออย่างสม่ำเสมอ เช็ค หรือชโลมน้ำมัน และเก็บเข้าที่ หลังเลิกใช้งาน
             1.7 ตรวจสอบเครื่องมือทุกครั้งก่อนที่จะใช้งาน
        1.8 จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
        1.9การใช้ประแจให้อยู่ในลักษณะดึงเข้าหาตัว

        2 .ข้อห้ามในการใช้เครื่องมือ
        2.1 ห้ามใช้เครื่องมือกับงานที่ไม่ถูกต้องตาวัตถุประสงค์ เช่น การใช้เครื่องมือผิดประเภทดังเช่น ใช้เหล็กขีด งัด หรือง้างชิ้นงาน ใช้ตะใบเคาะชิ้นงานเป็นต้น
        2.2 ห้ามออกแรงหรือกดอัดเครื่องมือมากเกินไปขณะทำงาน
        2.3  อย่าใช้เครื่องมือในลักษณะเข้าหาตัว หรือ เอาทางคมตัดเข้าหาตัวเอง
        2.4  อย่าตัด หรือขันน็อตขณะที่ชิ้นงานวางอยู่บนฝ่ามือ

        ความปลอดภัยจากการใช้สารซักฟอกและสารเคมี
        ทำอย่างไรให้ปลอดภัยขณะใช้สารเคมี 1. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นพิษแทน 2. อ่านฉลากและปฏิบัติตามวิธีการใช้ทุกครั้ง 3. สวมถุงมือและเสื้อคลุมทุกครั้ง ถ้าผลิตภัณฑ์สามารถทำให้เกิดอันตรายได้โดยการสัมผัสต่อผิวหนัง 4. สวมแว่นตาป้องกันสารเคมี ถ้าผลิตภัณฑ์สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อตา 5. ห้ามสวมคอนแทคเลนส์เมื่อใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ทินเนอร์ เป็นต้น 6. หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ทันทีถ้ารู้สึกวิงเวียน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดศีรษะ 7. ควรใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ผลิตภัณฑ์ในที่โล่งแจ้ง 8. ห้ามสูบบุหรี่เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถติดไฟได้ 9. ห้ามผสมผลิตภัณฑ์สารเคมีเอง เนื่องจากสารเคมีบางชนิดอาจทำปฏิกิริยาต่อกัน เกิดเป็นไอควันพิษหรืออาจระเบิดได้ 10. พบแพทย์ทันทีถ้าสงสัยว่าได้รับสารพิษหรือได้รับอันตรายเมื่อสัมผัสกับสารเคมีที่ใช้ภายในบ้าน ความปลอดภัยจากวิธีการทำงาน
        ในการทำงานบ้านสิ่งที่สมาชิกต้องตระหนักนั่นก็คือ  ความปลอดภัยจากการทำงานเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและสมาชิกในบ้าน ควรปฏิบัติ ดังนี้1. มีการวางแผนการทำงานให้เป็นระบบ และทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด2. ควรมีเครื่องมือป้องกันให้เหมาะสมกับงาน เช่น ในการทำความสะอาดบ้านให้ใส่ผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันฝุ่นเข้าจมูก ป้องกันการสูดดมสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย3. เมื่อหยิบของหรือทำความสะอาดที่สูง ควรใช้บันไดที่มีความมั่นคง ปลอดภัย รับน้ำหนักของตัวเราได้ และหยิบของในอิริยาบถที่ถูกต้อง  เพราะมิฉะนั้นอาจเกิดอาการบาดเจ็บได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้กระบวนการทำงาน

 เรื่อง เรียนรู้กระบวนการทำงาน

 1.ทักษะกระะบวนการทำงาน
 2.กระบวนการกลุ่มในการทำงาน
 3. การแก้ปัญหาในการทำงานอย่างมีเหตุผลและการเสริมสร้างลักษณะนิสัยในการ 
     ทำงานด้วยความเสียสละ


1.ทักษะกระบวนการทำงาน
    ทักษะกระบวนการทำงาน หมายถึง เทคนิควิธีการต่างๆ ที่จะต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากการประสบการณ์ทำงานด้วยตนเอง การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ มีขั้นตอนดังนี้
        -การวิเคราะห์งาน จะต้องทำการวิเคราะห์งานทุกครั้งว่า จะปฏิบัติงานอะไร มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์อย่างไร ความยากง่าย เวลาในการทำ วัสดุอุปกรณ์ เป็นข้อมูลในการวางแผนงาน
        -การวางแผนการทำงาน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ การวางแผนที่ดีจะทำให้ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย งานเสร็จทันเวลา จัดลำดับขั้นตอนก่อนหลังที่จะทำ






-การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน การวางแผนงานจัดลำดับขั้นตอนก่อนหลังที่ดี จะทำให้งานถูกต้องไม่เสียเวลาในการแก้ไข


-การประเมินผลการทำงาน เป็นสิ่งที่จะช่วยในการพัฒนาทักษะการทำงาน ทำให้ได้ทราบถึงข้อดีและข้อเสีย เป็นแนวทางที่จะต้องแก้ไขในการทำงานครั้งต่อไป
2.กระบวนการกลุ่มในการทำงาน
    กระบวนการกลุ่ม หมายถึง การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์ในการทำงานเหมือนกัน มารวมตัวกันทำงาน ช่วยกันตัดสินใจและแก้ปัญหาร่วมกัน กระบวนการกลุ่มมีความสำคัญมาก ทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการกลุ่มในการสร้างคนและสร้างงาน มีความสามัคคี ความผูกพัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การระดมสมอง ช่วยกันทำงานให้สำเร็จ ถูกต้องและปลอดภัย




แนวทางในการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม เน้นทักษะการคิด ทักษะการปฏิบัติ แนวทางในการปฏิบัติงานที่สำคัญมี 2 ประการ คือ
        -สัมพันธภาพในกลุ่ม เป็นการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ทุกคนควรยึดหลัก คือ เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี เป็นผู้ประสานงาน เป็นผู้อำนวยความสะดวก เป็นผู้สังเกตการณ์ให้คำติชมและเป็นผู้ผ่อนคลายความเครียด



-ความสมัครใจในการทำงาน สมาชิกควรได้รับมอบหมายงานที่ตรงกับความรู้ ความสามารถของตนเอง ทุกคนควรยึดหลักการ คือ เป็นผู้ริเริ่ม เป็นผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้แสวงหาข้อมูล เป็นผู้ชี้แจง และเป็นผู้ประเมิน




ขั้นตอนการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม การทำงานกลุ่มมีขั้นตอนการทำงาน คือ การเลือกหัวหน้ากลุ่ม การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย วางแผนการทำงาน การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่ การประเมินผลและปรับปรุงการทำงาน

3.การแก้ปัญหาในการทำงานอย่างมีเหตุผล
    การแก้ปัญหาในการทำงานจะต้องเริ่มต้นด้วยการมีสติสัมปชัญญะตามหลักธรรม ใช้เหตุและผลในการตัดสินใจในการแก้ปัญหา รู้จักคิด วิเคราะห์ แยกแยะ
    การตัดสินใจแก้ปัญหา คือ ขบวนการในการเลือก ทางเลือกในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การตัดสินใจภายใต้การวิเคราะห์ พิจารณาทางเลือกต่างๆ
    การแก้ปัญหา คือ กระบวนการหาคำตอบให้คำถามหรือการจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ การประยุกต์ใช้กฎหรือหลักการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความจริง
    ประโยชน์ของการแก้ปัญหาในการทำงาน
        -การตัดสินใจอย่างสมเหตุผล ช่วยลดความเสี่ยง ความผิดพลาด
        -ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองและเพื่อนร่วมงาน
        -พัฒนาระบบการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ
        -ประหยัดเวลาและทรัพยากรในการทำงาน
    ขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหา
        -การสังเกต เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ

 -การวิเคราะห์ เพื่อหาปัญหาที่เกิดขึ้น
        -การสร้างทางเลือก เพื่อหาทางออกของการแก้ปัญหาว่ามีกี่วิธีที่ทำได้
        -การประเมินทางเลือก เพื่อเลือกวิธีที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด
a9


-การวางแผนการทำงาน เพื่อกำหนดกรอบแนวคิด ลำดับ ขั้นตอนในการแก้ปัญหา
        -การลงมือปฏิบัติงาน ดำเนินตามขั้นตอนที่วางแผนไว้อย่างเป็นระบบ
        -การประเมินผลการทำงาน เพื่อให้ทราบถึงข้อดี ข้อเสีย และเป็นแนวทางที่จะต้องแก้ไขในการทำงานครั้งต่อไป
    การสร้างลักษณะนิสัยในการทำงานด้วยความเสียสละ ความเสียสละเป็นคุณธรรมประการแรกของการทำงานเป็นกลุ่ม เพราะกลุ่มประกอบด้วยบุคคลหลายคนมาทำงานร่วมกัน ย่อมมีความคิดเห็นต่างกัน ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มต้องเป็นคนมีเหตุผล มีความเสียสละ มีคุณธรรมจริยธรรม กลุ่มจึงจะทำงานสำเร็จ
    การทำงานกลุ่มด้วยความเสียสละ คือการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นและปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ และไม่คดโกงหรือหลอกลวงผู้อื่น
    ความสำคัญของการทำงานด้วยความเสียสละ คือเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

4 การเสริมสร้างลักษณะนิสัยในการทำงานด้วยความเสียสละ

        การทำงานด้วยความเสียสละเป้นคุณธรรมประการเเรกของการทำานด้วยกระบวนการกลุ่มเพราะว่าการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นทีม ประกอบด้วยบุคคลหลายคนร่วมกันทำงาน ผลิตชิ้นงานย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในทีมงาน ทำให้เกิดปัญหาหรือความขัดเเย้งขึ้นภายในกลุ่มส่งผลต่อประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลของการทำงานหรือชิ้นงาน เพราะฉะนั้นถ้าสมาชิกทุกคนภายในกลุ่มเป้นผู้ที่มีเหตุผล มีความเสียสละ มีคุณธรรม จริยธรรม มีสัมพันธไมตรีภายในกลุ่มก็จะทำให้การทำงานกลุ่มนั้นประสบความสำเร็จ

   ความหมาย  ความสำคัญ
            ลักษณะนิสัยในการทำงานด้วยความเสียสละ หมายถึง การสร้างนิสัยแห่งความเสสียสละให้กับนักเรียนทุกคนได้นำไปปฏิบัติจนเกิดเป็นกิจนิสัย  ทั้งในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวัน ก่อไห้เกิดเจตคติที่ดีต่อการทำงาน สร้างหรือผลิตชิ้นงาน หรือซ่อมเเซมปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานไห้สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี

  หลักการทำงานด้วยความเสสียสละที่ต้องปฏิบัติ มีดังนี้

1 ละหรือเลิกความเห็นแก่ตัว

2 เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

3 เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นที่เเตกต่างกัน ปรับความคิดเห็นที่ต่างกันด้วยสันติวิธีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์

4 รู้จักการไห้ รู้จักการแบ่งปัน สละความสุขความสบายส่วนตัว หรือผลประโยชน์ของตนเอง เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่หวังผลตอบเเทน

5 มีคุณธรรม จริยธรรม เช่น มีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม ประหยัด ขยัน อดทน รับผิดชอบ ตรงต่อเวลา มีความสะอาด มีเหตุผล มีมารยาทที่ดี ช่วยเหลือตนเองได้ เป็นต้น

      จึงกล่าวได้ว่า ความเสียสละเป้นคุณธรรมหลักของการทำงานในกระบวนการกลุ่มได้โดยแท้จริง หากสมาชิกในกลุ่มยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติจะทำให้การทำงานนั้นประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้

   ประโยชน์ของการมีลักษณะนิสัยการทำงานด้วยความเสียสละ 

1 เป็นทักษะพื้นฐานในการทำงานซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำงานต่อไป

2 เป็นการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงานและในการประกอบอาชีพด้วยความซื้อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

3 เป้นการขจัดปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งระดับกลุ่มบุคคลและทีมงานได้เป็นอย่างดี

4 เป้นการเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันในสังคม ทำไห้กลุ่มบุคคลและทีามงานมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเเบบพี่น้อง

5 เป็นพื้นฐานของการพัฒนาคน บุคคลในสังคม ให้มีความเสียสละ ส่งผลต่อการเป้นพลเมืองดีของประเทศชาติสืบต่อไป